ดอยหลวงเชียงดาว : ตำนานแห่งภูผา บทพิสูจน์ของนักเดินทาง

3

ดอยหลวงเชียงดาว

เดือนพิจิก เริ่มต้นเดือนแห่งเหมันต์ด้วยมนต์ขลังของขุนเขาและสายหมอกหนาวที่หอบเอาความชุ่มชื่นและความงดงามของสีสันแห่งผืนป่าทึบ เย้ายวนให้นักเดินทางเปิดบันทึกพิสูจน์การเดินทางสู่ภูผา อันเป็นตำนานมาตั้งแต่อดีตกาลของชนชาวล้านนา

กล่าวถึง “ดอยหลวงเชียงดาว” ในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ น้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก ด้วยความสูงชันของภูเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลเป็นอันดับ 3 ของประเทศไทยรองจาก ดอยอิทนนท์ และดอยผ้าห่มปก “ดอยหลวงแชียงดาว” จึงกลายเป็นหนึ่งในความท้าทายกับความหนื่อยยากและความอดทนของจิตใจในนักเดินทางทั้งหลาย

ดอยหลวงเชียงดาวตั้งอยู่ในอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ถือได้ว่าเป็นภูเขาหินปูนเพียงไม่กี่แห่งในประเทศไทยที่ไม่เพียงมีธรรมชาติที่งดงามแล้ว ยังเป็นแหล่งต้นน้ำและที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าหายากต่างๆ ด้วยความสูงกว่าระดับน้ำทะเลถึง 2225 เมตร และมีลักษณะเป็นทิวเขาหินปูนสลับซับซ้อน กล่าวความเป็นมาของดอยหลวงเชียงดาว ย้อนไปเมื่อ 50 ล้านปี ที่ตรงนี้เคยเป็นทะเลและมีการทับถมของตะกอนใต้ทะเล จนกระทั่งในยุคการเคลื่อนตัวของชั้นผิวเปลือกโลกครั้งใหญ่ จึงทำให้เกิดแผ่นดินยกขึ้นสูงกว่าผิวน้ำทะเล และพื้นผิวดินที่ทรุดลงจึงกลายเป็นแอ่งระหว่างภูเขาและแหล่งต้นน้ำสายหลักของชาวบ้าน จากข้อมูลของนักวิชาการ พืชพันธุ์อันอุดมสมบูรณ์ของดอยหลวงเชียงดาว ประกอบไปด้วยพรรณพืชจำนวนมากมายถึง 1722 ชนิด และมีสัตว์ป่าที่เลี้ยงลูกด้วยนมถึง  160 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 78  ผีเสื้อ 105 ชนิด นก 203 ชนิด และ ปลา 36 ชนิด

4

ดอยหลวงเชียงดาว

ดอยหลวงเชียงดาว  ยังมีความเกี่ยวพันกับจารีตประเพณี ความเชื่อ และเป็นแหล่งรวมศรัทธามหาศาลของชาวบ้านล้านนา ด้วยความเชื่อที่สืบทอดมาตั้งแต่โบราณกาลว่าสถานที่แห่งนี้คือสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ โดยเป็นแหล่งสิงสถิตของเหล่าเทวดาอารักษ์ ดังนั้นบุคคลใดที่กระทำการไม่เหมาะสมถือเป็นการหลบหลู่ดูหมิ่นต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวบ้านเคารพนับถือ  และในทุกๆปี ชาวบ้านจะจัดให้มีพิธีกรรมและทำบุญ ณ ดอยหลวงเชียงดาวนี้ อย่างไม่ขาดสาย

การท่องที่ยวในดอยหลวงเชียงดาว หลายคนอาจจะคิดว่าคือการได้เข้าไปชมแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและได้พักแรมเหมือนในอุทยานแห่งชาติทั่วๆไป แต่ทว่า ความเป็นจริงก็คือ ดอยหลวงเชียงดาวคือเขตสัตว์ป่าอนุรักษ์ นั่นคือการให้ป่าและสัตว์ป่าได้อยู่อย่างปลอดภัยและไม่ถูกรบกวน แม้กระทั่งการล้อมวงร้องเพลงหรือก่อกองไฟ นักท่องเที่ยวที่ต้องการไปเยี่ยมเยือน และศึกษาค้นคว้าด้านธรรมชาติจึงต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับอย่างเคร่งครัด ซึ่ง ณ วันนี้ ทางเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าได้อนุญาตให้มีผู้เข้าเยี่ยมชมไม่เกินวันละ 200 คน และมีจุดกางเต้นไว้ให้ 3 จุด ก่อนเข้าไปยังเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวงเชียงดาว นักท่องเที่ยวต้องกรอกชื่อและจดรายละเอียดสิ่งที่นำติดตัวเข้าไป เช่น จำนวนขวดน้ำ ถุงพลาสติก เป็นต้น เพื่อเป็นการจ่ายมัดจำและนำขยะเหล่านั่นกลับมาแลกเงินมัดจำคืนวันในขากลับ

นักท่องเที่ยวจำนวนมากที่หลงไหลการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ และชื่นชอบความท้าทายเพื่อพิชิตความสูงชันโดยผ่านบทเรียนจากการเดินทางอันยากเย็นและยาวนาน เพื่อไปสู่ยอดผาชมความงดงามของพรรณไม้เมืองหนาวหลากสีสันและสัตว์ป่า หายากหลากหลายสายพันธุ์ นั่นคือสิ่งตอบแทนอันคุ้มค่าและสร้างความอ่อนโยนให้กับจิตใจเราอย่างน่าอัศจรรย์

การเดินทางไปดอยหลวงเชียงดาวนั้น ให้ใช้ทางหลวงหมายเลข 107 มุ่งหน้าไปทางอำเภอเชียงดาว เลี้ยวขวาที่กิโลเมตรที่ 76 จากนั้นวิ่งตรงไปเป็นระยะทางอีก 5 กิโลเมตรก็จะถึงถ้ำเชียงดาว จากจุดนั้น จะมีรถประจำทางที่จะพาคุณไปที่จุดพัก  ระยะการเดินทางทั้งสิ้นห่างจากเชียงใหม่ 77 กิโลเมตร หากใช้วิธีเดินทางไกลไปเรื่อยๆไปดอยหลวงเชียงดาวก็น่าจะอยู่ที่ราวๆ 5 ชั่วโมง

ข้อมูลดอยหลวงเชียงดาวที่ Wikipedia (ฉบับภาษาไทย):

http://th.wikipedia.org/wiki/เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว

บทความเนื้อหาสำคัญโดย Wikitravel (ฉบับภาษาอังกฤษ) : http://wikitravel.org/en/Chiang_Dao

Share This

About the author

Thomas has a university background in the UK and in Latin America, with studies in Languages and Humanities, Culture, Literature and Economics. He started his Asian experience as a publisher in Krabi in 2005. Thomas has been editing local newspapers and magazines in England, Spain and Thailand for more than fifteen years. He is currently working on several projects in Thailand and abroad. Apart from Thailand, Thomas has lived in Italy, England, Venezuela, Cuba, Spain and Bali. He spends most of his time in Asia. During the years Thomas has developed a great understanding of several Asian cultures and people. He is also working freelance, writing short travel stories and articles for travel magazines. Follow Thomas on www.asianitinerary.com

View all articles by Thomas Gennaro